ฝนหลวง-วิทยาศาสตร์กับโครงการในพระราชดำริ ร.9

ฝนหลวง

 1.โครงการฝนหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงสังเกตเห็นว่า  มีปริมาณเมฆมาก แต่ไมสามารถรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน และทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร เกษตรกรและชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากฝนแล้ง  จึงเป็นความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และก่อให้เกิดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ แก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงจัดตั้งโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์ พ่อหลวงทรงเริ่มการทำฝนหลวง เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร วิธีการก็คือก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มกัน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา  หลังจากนั้น ก็จะใช้เครื่องบินที่บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยบนท้องฟ้า โดยเริ่มดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน เมื่อความร้อนชื้นปะทะเข้ากับความเย็น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงมากจนทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว และกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝนในที่สุด  พ่อหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เริ่มมีการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา 2.โครงการแก้มลิง กักตุนแล้วระบายน้ำตามแรงโน้มถ่วง               หลังจากที่มีโครงการฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้งแล้ว ก็ยังมีปัญหาน้ำท่วมอีก ซึ่งน้ำท่วมก็เป็นอีกหนึ่งภัยธรรมชาติที่ประชาชนต้องได้รับความเจ็บปวดอีกเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9ท่านทรงคิดค้น โครงการแก้มลิง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนชาวไทย ซึ่งขั้นตอนแรก คือ ระบายน้ำจากตอนบนให้ไปตามคลองในแนวเหนือใต้สู่คลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่ชายทะเล หลังจากนั้น เมื่อระดับน้ำในทะเลลดต่ำกว่าในคลองก็ระบายน้ำออกจากคลองทางประตูระบายน้ำด้วยหลักการแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งโครงการแก้มลิงนี้เปรียบเหมือนการกินกล้วยของลิงซึ่งจะเก็บกล้วยไว้ที่แก้ม แล้วจะค่อย ๆ […]