วิทยาศาสตร์สามารถทำให้เราไปอาศัยนอกโลกได้จริงไหม

How (and WhHow (and Why) SpaceX Will Colonize Marsy) SpaceX Will Colonize Mars

จากผลสำรวจค้นพบว่ามีชาวอเมริกันจำนวน 29% ต้องการย้ายไปอยู่พร้อมสร้างบ้านตั้งรกราก ในดาวดวงอื่น ซึ่งเป็นดาวอันน่าสนใจ ในจำนวนดาว 7 ดวงที่ ‘NAZA’ พึ่งค้นพบ เพราะต้องการหนีไปอนาคต 4 ปีข้างหน้าที่ ‘Donald Trump’ ยังคงเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอยู่ มีผู้ยิ่งใหญ่หลายคน ออกมาแสดงความคิดอย่างล้นหลาม ‘Elon Musk’ เคยแสดงความคิดเห็นไว้ในบทความ ชื่อว่า ‘How (and Why) SpaceX Will Colonize Mars’ โดยเขาได้เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆว่า…โลกเปรียบเสมือน ‘Hard Disk’ ขนาดใหญ่ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่บนโลกก็เปรียบเสมือนไฟล์เอกสารที่อยู่ใน ‘Hard Disk’ อีกที ต่อมาเมื่อ ‘Hard Disk’ มีความเสี่ยงเสียหาย เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะเก็บไฟล์ข้อมูลเอาไว้ได้ ก็คือ การย้ายไฟล์ไปสู่ ‘Hard Disk’ ตัวใหม่ นี่จึงเป็นเหตุผลหลัก ที่ทำให้เขาต้องพัฒนาโครงการ ‘SpaceX’ โดยมีจุดประสงค์อันยิ่งใหญ่ คือ จะได้ส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคารได้ครั้งละจำนวนมาก นอกจากนี้เขายังมีเป้าหมายในการสร้างอาณานิคมใหม่บนดาวอังคารอีกด้วย […]

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คืออะไร ?

‘วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ’ คือ สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ สำหรับยุคก่อน การให้คำนิยามความหมาย คือ สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับโลกรวมทั้งสิ่งต่างๆรอบๆ ตัว หรือธรรมชาตินั่นเอง มาทำความเข้าใจกับ ‘วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ’ กันให้มากขึ้น โดยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ จัดเป็นพื้นฐานหนึ่งของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ ใช้ในการอธิบายการทำงานของโลกด้วยธรรมชาติ นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ธรรมชาติยังถูกนำมาใช้ เพื่อแยกแยะ ‘วิทยาศาสตร์ ’ ให้ออกจากปรัชญาธรรมชาติอีกด้วย หากแต่ในปัจจุบันคำว่า ‘วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ’ ถูกนำมาใช้ในความหมาย ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีความสนใจต่อกระบวนการทางชีวภาพ ในลักษณะแตกต่างกันไปจากวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น 2 กลุ่ม คือ… • วิทยาศาสตร์กายภาพ ศึกษาสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ฟิสิกส์, เคมี, ดาราศาสตร์, ธรณีวิทยา เป็นต้น • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ศึกษาสิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่…กลุ่มพฤกษศาสตร์ ศึกษาต้นไม้เละพืชทุกชนิด กลุ่มสัตวศาสตร์ ศึกษาสัตว์ทุกชนิด นอกจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแล้ว ยังมีวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นอีก 3 ประเภท ได้แก่… 1. วิทยาศาสตร์สังคม คือ การศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในสังคม 2. วิทยาศาสตร์อัตภาพ คือ การศึกษาธรรมชาติของจิตมนุษย์รวมทั้งปรากฏการณ์ทางจิตใจต่างๆ 3. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือ การประยุกต์ศาสตร์จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มาต่อยอดสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่มนุษย์รวมทั้งทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น โดยสาเหตุที่วิทยาศาสตร์พัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เหตุผลก็คือ วิทยาศาสตร์มีหลักการสำคัญที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งจะช่วยให้ศาสตร์นี้มีความแข็งแกร่งและมั่นคงมากขึ้น นั่นก็คือ… 1. วิทยาศาสตร์มีความเชื่อพื้นฐาน ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่างๆ ซึ่งสามารถค้นพบได้ถ้าผู้ค้นพบ มีความสามารถมากพอ โดยอาจใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ เช่น การเปรียบเทียบ, การจำแนก, การวิเคราะห์, การทดลอง, การพิสูจน์ เป็นต้น 2. วิทยาศาสตร์มีความเชื่อเรื่องการค้นพบความจริง ได้มาจากการสังเกต หรือ จากการทดลอง เป็นต้น 3. นักวิทยาศาสตร์ยึดถือเรื่อง ปรากฎการณ์ที่สังเกตได้เท่านั้น โดยปรากฎการณ์ใดที่ยังไม่อาจวัดได้ โดยเฉพาะปรากฎการณ์ทางจิตวิญญาณ จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะศึกษาได้ 4. การทดลองจะต้องมีการยอมรับระดับสากล จากหลักการข้อนี้นักวิทยาศาสตร์จะพิสูจน์ผลงานของนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ด้วยการศึกษาหรือทดลองซ้ำ ซึ่งถ้ามีผลลัพธ์แบบเดียวกันทุกครั้ง การค้นพบครั้งนั้นก็จะได้รับการยอมรับ 5. วิทยาศาสตร์ใช้ทฤษฎีเป็นเครื่องมือในการอธิบาย การเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ ในทางทฤษฎียังสามารถใช้การพยากรณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น กฎแห่งแรงโน้มถ่วง , กฎแห่งการดึงดูดกัน เป็นต้น นอกจากนี้ถ้ามีการพบว่าปรากฎการณ์ในอดีตที่เคยได้รับการพิสูจน์มาแล้ว สามารถถูกหักล้างได้ด้วยแนวความคิดใหม่ๆ เพราะสิ่งต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ทำให้วิทยาศาสตร์เองก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่

‘วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ’ คือ สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ สำหรับยุคก่อน การให้คำนิยามความหมาย คือ สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับโลกรวมทั้งสิ่งต่างๆรอบๆ ตัว หรือธรรมชาตินั่นเอง มาทำความเข้าใจกับ ‘วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ’ กันให้มากขึ้น โดยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ จัดเป็นพื้นฐานหนึ่งของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ ใช้ในการอธิบายการทำงานของโลกด้วยธรรมชาติ นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ธรรมชาติยังถูกนำมาใช้ เพื่อแยกแยะ ‘วิทยาศาสตร์ ’ ให้ออกจากปรัชญาธรรมชาติอีกด้วย หากแต่ในปัจจุบันคำว่า ‘วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ’ ถูกนำมาใช้ในความหมาย ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีความสนใจต่อกระบวนการทางชีวภาพ ในลักษณะแตกต่างกันไปจากวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น 2 กลุ่ม คือ… วิทยาศาสตร์กายภาพ ศึกษาสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ฟิสิกส์, เคมี, ดาราศาสตร์, ธรณีวิทยา เป็นต้น วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ศึกษาสิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่…กลุ่มพฤกษศาสตร์ ศึกษาต้นไม้เละพืชทุกชนิด กลุ่มสัตวศาสตร์ ศึกษาสัตว์ทุกชนิด นอกจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแล้ว ยังมีวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นอีก 3 ประเภท ได้แก่… วิทยาศาสตร์สังคม คือ […]

‘วิทยาศาสตร์การกีฬา’ คืออะไร ?

วิทยาศาสตร์การกีฬา

‘วิทยาศาสตร์การกีฬา’ คือ ศาสตร์หนึ่งซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้า ด้วยการศึกษาถึงผลที่มาจากการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายภายใต้กิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีการประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์ มาผสมผสายร่วมกับเทคนิคทางด้านเฉพาะทาง เพื่อพัฒนาพร้อมยกศักยภาพร่างกายของนักกีฬาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยใช้หลักทางด้านวิชาสรีรวิทยา, จิตวิทยา, สังคมวิทยา รวมทั้งอื่นๆ เพราะฉะนั้นนั้น วิทยาศาสตร์การกีฬาจึงเป็นการรวมสรรพวิชาต่างๆมากมาย ซึ่งมีเนื้อหาสาระครอบคลุมทางด้านสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น วิทยาการกีฬา, จิตวิทยาการกีฬา, สังคมวิทยาการกีฬา, เวชศาสตร์การกีฬา เป็นต้น ประเภทการศึกษา ‘วิทยาศาสตร์การกีฬา’ กายวิภาคศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างต่างๆของร่างกาย ซึ่งประกอบขึ้นมาเป็นรูปร่าง และสัดส่วนของร่างกายของนักกีฬาแต่ละคน เช่น กระดูก, กล้ามเนื้อ, ข้อต่อ, หัวใจ เป็นต้น สรีรวิทยา ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอวัยวะรวมทั้งระบบต่างๆของร่างกาย รวมทั้งหาสาเหตุที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของระบบของอวัยวะต่างๆ อย่างมีนัยยะสำคัญ ชีวกลศาสตร์ คือ ศึกษา กล้ามเนื้อ, กระดูก, เส้นเอ็น เป็นต้น เพื่อพัฒนานำมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในแต่ละประเภทกีฬา รวมทั้งสร้างการฝึกซ้อมและเรียนรู้ความแตกต่างของร่างกายซึ่งแตกต่างกันไป การฝึกซ้อมกีฬา คือ ศาสตร์ที่ศึกษารูปแบบวิธีฝึก ให้เหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล โดยจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยในด้านต่างๆ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุ, เพศ, วัย […]

วิทยาศาสตร์กับมายากลมีความเกี่ยวช้องกันอย่างไร ?

วิทยาศาสตร์กับมายากลมีความเกี่ยวช้องกันอย่างไร ?

‘มายากล’ เป็นการแสดงที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะขั้นสูง มีผู้คนจำนวนมากที่ชื่นชอบการแสดงมายากล โดยปกติแล้วสิ่งที่ทำให้มายากลมีความน่าสนใจและน่าตื่นเต้น ก็คือ การทำให้เกิดบางสิ่งขึ้นมา โดยน่าแปลกใจ หรือตรงข้ามกับสิ่งที่ผู้คนทั่วไปคิด และในทางเดียวกันนั่นเอง การสาธิตทางวิทยาศาสตร์ก็จะเต็มไปด้วยความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ถ้าทำให้สิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น โดยเฉพาะ ‘ฟิสิกส์’ ที่สามารถใช้เป็นการแสดงมายากลได้ ซึ่งทำให้ทั้ง 2 ศาสตร์นี้มีความเกี่ยวข้องกันตรงจุดนี้นี่เอง ยกตัวอย่างกลที่น่าสนใจ :: จุ่มมือในน้ำมันที่กำลังเดือดปุดๆ ไม่เป็นอะไร ! การแสดงกล ภาพที่ผู้ชมจะได้เห็น คือ มีกระทะขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนเตาไฟถ่านแดงฉาน ซึ่งปรากฏภาพมีน้ำมันเดือดปุดๆขึ้นมา หลังจากนั้นผู้แสดงก็จะจุ่มมือเปล่าลงไปในน้ำนั้น เพื่อแสดงให้ผู้ชมเห็นว่า ไม่ร้อนเลยแม้แต่นิดเดียว เมื่อยกขึ้นมาผิวหนังก็จะไม่เป็นอะไรอีกด้วย อธิบายได้ด้วยเคล็ดลับทางวิทยาศาสตร์ : สำหรับขั้นตอนเตรียมการ ก็คือ ให้ผู้แสดงเทน้ำเปล่าลงในกระทะขนาดใหญ่ หลังจากนั้นต้มให้พอเดือด ไม่ต้องเดือดจนถึงขั้นเดือดปุดๆ หลังจากนั้นจึงค่อยๆเทน้ำมันใส่ลงไปในน้ำนั้น ด้วยอัตราส่วนของน้ำที่มีต่อน้ำมัน ต้องเป๊ะ คือ 3:6 หรือ 3:7 และอย่างที่คุณผู้อ่านคงรู้กันมานานแล้วว่า น้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ด้วยเหตุนี้เมื่อนำลงไปผสมกับน้ำ น้ำมันก็จะค่อยๆลอยขึ้นมาบริเวณผิวหน้าเหนือน้ำ ส่วนน้ำจะนอนอยู่บริเวณด้านล่างก้นกระทะ และน้ำนี่แหละที่ได้รับความร้อนโดยตรงจากก้นกระทะ ที่กำลังถูกต้มอยู่ ให้เดือดเป็นฟองขึ้นมา หากแต่ในช่วงที่น้ำมันด้านบนยังไม่ได้รับความร้อนมากเท่าไหร่นี้เอง จึงช่วงที่เหมาะสมต่อการเล่นกลมาก […]

วิทยาศาสตร์กับการแช่แข็งปลา

วิทยาศาสตร์กับการแช่แข็งปลา

เรื่องที่น่าตกใจ เมื่อนำปลาไปแช่จนแข็งไปทั้งตัว แต่เมื่อนำไปใส่ในน้ำอุณภูมิห้องปกติรอสักพัก ปลากลับฟื้นขึ้นมาได้ ! และว่ายน้ำเฉกเช่นปกติ เหตุการณ์นี้เป็นเพราะอะไร ? คุณเคยชมคลิปปลานิลแข็งหรือไม่ ? มีผู้ทดลองนำปลานิลเป็นๆ ใส่ลงไปในไนโตรเจนเหลว – 35 องศา จนปลานิลที่มีชีวิต นิ่งแข็งด้วยความเย็นจนเหมือนปลาตาย แต่เมื่อนำปลาไปใส่ในน้ำอุณภูมิห้องปกติอีกครั้ง รอสักพัก ปลากลับขยับฟื้นขึ้นมา ว่ายน้ำได้ปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ?! เรื่องนี้วิทยาศาสตร์มีคำตอบ โดยเหตุผลที่แช่แข็งปลาไม่ตาย อันเนื่องมาจาก ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น และโปรตีนพิเศษไหลเวียนอยู่ในโลหิต เรียกว่า ‘Antifreeze’ ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดพิเศษไม่ทำให้เกิดการสร้างน้ำแข็งในเนื้อเยื่อได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสามารถพบในปลาบางชนิดเท่านั้น ! ย้อนไปในปี ค.ศ. 1950 นักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ นาม ‘Scholander’ เกิดความสงสัยใครรู่ว่า ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำไมถึงไม่แข็งตาย ? จึงพบ ‘สารป้องกันการแข็งตัว’ แต่ ณ ขณะนั้นยังไม่มีใครรู้เลยว่ามันคืออะไร ? ต่อมา ในปี 1960 นาย ‘Arthur […]

วิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาจุลชีววิทยา มีความสำคัญอย่างไร

Medical microbiology หรือ จุลชีววิทยาทางการแพทย์ เป็นการศึกษาในเรื่องสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กระดับจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆกับร่างกายของมนุษย์ โดยเน้นการศึกษาพัฒนาการ ความก้าวหน้าของโรคติดเชื้อในผู้ป่วยและในประชากรมนุษย์ (ระบาดวิทยา) อีกทั้งยังต้องมีการศึกษาในเรื่องของพยาธิวิทยา และภูมิคุ้มกันวิทยา ถือเป็นสาขาที่มีความสำคัญทางการแพทย์อย่างมาก ประวัติความเป็นมาในอดีต เมื่อปี 1546 แพทย์ชาวอิตาลีนามว่า Girolamo Fracastoro ได้เสนอความคิดในเรื่องของโรคระบาด ที่สามารถแพร่ การสัมผัสทางอ้อม และการติดต่อจากระยะไกล จนกระทั่งนายแพทย์ทั้งสอง Louis Pasteur และ Robert Koch ได้ร่วมมือกันตั้งสาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ (Medical microbiology) โดย Louis Pasteur ได้มีชื่อเสียงจากการทดลองของเขา เมื่อได้ทำพิสูจน์ที่หักล้างทฤษฎี “theory of spontaneous generation” ซึ่งได้บอกว่าสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดขึ้นได้จากตัวตนที่ไม่มีชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นคนที่คิดค้นวิธีการพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีในการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง ส่วน Robert Koch มีผลงานที่โดดเด่นอย่าง Germ theory […]

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาศัลยศาสตร์

สาขาศัลยศาสตร์  (Surgery) คือการผ่าตัดเพื่อรักษาผู้ป่วยโดย ศัลยแพทย์ (Surgeon) ตั้งแต่มนุษย์เรียนรู้วิธีการสร้างและจัดการเครื่องมือเป็นครั้งแรก เราก็ได้พัฒนาเทคนิคต่างๆมากมายเพื่อนำมาใช้ในการผ่าตัด ความก้าวหน้าในสาขาเหล่านี้ได้เปลี่ยนการผ่าตัดให้เป็นศาสตร์ “ศิลปะ” อย่างหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถรักษาโรคต่างๆและอาการต่างๆ ที่ไม่สามารถรักษาด้วยการแพทย์ทั่วไป หากไม่มีการผ่าตัดที่ก้าวหน้า มนุษย์เราคงอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงต่อชีวิตมากมาย อย่างในสมัยก่อนที่ผู้หญิงจะต้องคลอดเองตามธรรมชาติ เมื่อการผ่าตัดเข้ามามีบทบาท ทำให้การคลอดลูกมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างมาก หรือจะเป็นการรักษาที่ซับซ้อนภายในสมอง ในสมัยก่อนมีหลักฐานว่าเคยมีการทดลองผ่าตัดเปิดสมองหลายครั้ง น่าเสียดายที่คนสมัยก่อนยังขาดความเชี่ยวชาญทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตหลักจากผ่าตัด เมื่อมีการศึกษาในเรื่องศัลยศาสตร์อย่างจริงจังกันมากขึ้น จึงมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ต้นกำเนิดการผ่าตัดครั้งแรก การผ่าตั้งครั้งแรกถูกคิดค้นเพื่อทำการรักษาอาการบาดเจ็บเจ็บ และบาดแผลฉกรรจ์ ด้วยการใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายมานุษยวิทยา (Anthropological) ทำให้พัฒนาเทคนิคที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการเย็บบาดแผล การตัดแขนขาที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การระบายของเหลว และการปิดบาดแผลด้วยความร้อน มีหลักฐานในอดีตมากมายที่เกี่ยวข้อง เช่นในชนเผ่าเอเชียจะใช้ดินประสิวกับกำมะถันมาทาบนบาดแผล จากนั้นจะนำไฟมาจี้ตรงบาดแผล (Cauterize wound) เพื่อเป็นการห้ามเลือด หรือในชนเผ่าอินเดียและอเมริกาใต้ ที่พัฒนาวิธีที่ชาญฉลาดในการปิดแผลเล็กน้อย โดยการใช้ปลวกหรือแมลงปีกแข็งที่จะกัดตามขอบแผล แล้วบิดคอของแมลงทิ้งหัวไว้เพื่อใช้เป็นลวดเย็บแผล ต่อมาในยุคเรืองปัญญาของยุโรปช่วงปี ค.ศ.1715 – 1789 นักวิทยาศาสตร์ชาวสก็อตแลนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผ่าตัด John Hunter บุคคลที่ถือได้ว่าเป็นบิดาของการผ่าตัดยุคใหม่ เป็นผู้ที่นำเสนอการทดลองทางการแพทย์ที่น่าสนใจ และกลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายไปทั่วยุโรปในเรื่องของผลงานการวิจัย และงานเขียนของเขา ภายหลังที่ John Hunter […]

วิทยาศาสตร์การกีฬาที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง

หากคุณเป็นคนที่ต้องการลงไปเล่นในธรุกิจการกีฬาแบบมืออาชีพ สิ่งที่จะเป็นใบเบิกทางคือ ปริญญาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มันเป็นการเรียนเพื่อศึกษาเบื้องหลังของกีฬา เพื่อพัฒนาสุขภาพและประสิทธิภาพ รู้ว่าร่างกายทำงานอย่างไร รวมถึงในเรื่องการบริหารจัดการ สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือการเรียนไม่จำเป็นจะต้องเล่นกีฬาเก่ง ขอแค่เข้าใจหลักต่างๆของกีฬาก็เพียงพอแล้ว เมื่อจบการศึกษาเราจะได้ความรู้ที่จะนำมาพัฒนาร่างกายของมนุษย์ ให้มีประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย หรือเพื่อการกีฬา จะรู้ได้ว่าร่างกายของคนเราไปสุดได้แค่ไหน และพัฒนาได้สูงสุดเท่าไหร่ คุณจะรู้ถึงผลกระทบของกิจกรรมต่างๆของกีฬา และการออกกำลังกายที่มีต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่นวิธีการที่กล้ามเนื้อซ่อมแซมตัวเอง หลังจากนักกีฬาวิ่งมาราธอน หรือนักฟุตบอลเล่นแข่นขันเป็นเวลา 90 นาที ในวันที่มีความร้อนจัด สิ่งเหล่านี้จะสามารถทำให้เข้าใจว่าจะวางแผนการการฝึกสอนอย่างไร นอกจากนี้วิทยาศาสตร์การกีฬายังมีความสำคัญอย่างมากในระดับผู้จัดการทีม เพราะผู้ที่ได้รับความรู้เหล่านี้จะทำให้มีความได้เปรียบอย่างมากในการแข่งขันระดับโลก สายอาชีพที่ทำงานได้ วิทยาศาสตร์การกีฬาช่วยให้เป้นใบเบิกทางในการประกอบอาชีพเป็น ผู้ฝึกสอน, ผู้จัดการทีม และ ผู้บริหาร รวมถึงอาชีพอื่นๆทีเกี่ยวข้องอย่าง เทรนเนอร์ อาจมีการจ้างงานโดยรัฐบาลหรือเอกชนเพื่อให้สนับสนุนและพัฒนานักกีฬา งานส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาวิจัยสิ่งที่จะทำให้ร่างกายมนุษย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเข้ากับประเภทกีฬาต่างๆ เรื่องที่น่าสนใจในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬา 1.เหรียญทองโอลิมปิกแท้จริงแล้วไม่ได้ทำมาจากทองคำ 100% แต่ทำมาจาก แร่เงิน 92.5% โดยจะประกอบไปด้วยทองคำไม่ต่ำกว่า 6 กรัม ต้องมีความขหนาไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร ตามมาตฐานของโอลิมปิก 2.การพัฒนาชุดว่ายน้ำสมัยใหม่ มีความก้าวหน้าจนมาถึงจุดที่วัสดุสามารถลดแรงต้านทานของน้ำได้ดีกว่าผิวหนังของมนุษย์ ทำให้นักว่ายน้ำสามารถว่ายได้เร็วและเหนื่อยน้อยลง

วิทยาศาสตร์การแพทย์เรียนจบแล้วทำงานอะไรหางานยากไหม

เมื่อพูดถึงอาชีพด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ถือเป็นสายอาชีพที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ และเป็นอาชีพที่มีคสามต้องการสูงมากในตลาด ด้วยงานที่เกี่ยวข้องที่อาจจะได้ไปทำ เช่น การพัฒนาวิธีรักษาโรคมะเร็ง การถอนฟันของผู้คนด้วยการเจาะ วิธีการสร้างวิตามินหลายชนิดให้มีขนาดเล็กลง เป็นงานที่น่าสนใจเลยใช่ไหมล่ะ นักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (Biomedical scientist) ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ คุณจะต้องทำการทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับตัวอย่างเนื้อเยื่อ และของเหลวเพื่อช่วยแพทย์วินิจฉัยและรักษาโรค งานของคุณมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแผนกต่างๆของโรงพยาบาล ตัวอย่างเช่นคุณอาจทำงานกับการวิจัยทางการแพทย์เช่นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคเอดส์ คัดกรองและตรวจสอบโรคต่างๆ ผู้ร่วมวิจัยทางคลินิก (Clinical research associate) เป็นอาชีพที่ดำเนินการทดลองทางคลินิก เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยา ความเสี่ยง และผลประโยชน์เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยก่อนที่จะส่งมันออกไปสู่ตลาด ดังนั้นคุณจะได้ทำงานกับยาตัวใหม่ๆ และยาที่มีอยู่แล้วและมักจะถูกว่าจ้างโดย บริษัทยา หรือองค์กรวิจัยอสิระซึ่งทำงานในนามของบริษัทยา ปกติแล้วคุณจะมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ อาจมีการทดลองในมนุษย์ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง หรือในผู้ป่วยที่ติดโรค นักชีวเคมีคลินิก (Clinical biochemistry) ในฐานะนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทำงานด้านชีวเคมีคลินิก คุณจะวิเคราะห์ตัวอย่างที่ได้จากเลือดของผู้ป่วยปัสสาวะหรือของเหลวในร่างกายอื่นๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยการจัดการและการรักษาโรค ผู้เชี่ยวชาญด้านจีโนม (Genomicist) คุณจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพอื่นๆ เช่น แพทย์ เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษา และช่วยคาดการณ์ว่าสมาชิกครอบครัวคนอื่นหรือคนรุ่นต่อไปในอนาคตมีความเสี่ยงจากความผิดปกติหรือไม่ นักโลหิตวิทยา (Haematologist) งานด้านโลหิตวิทยาคุณจะมีส่วนร่วมในการศึกษาเลือด เนื้อเยื่อ ทำงานเป็นทีมกับเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์และโลหิตวิทยาคนอื่นๆ จะต้องวินิจฉัยและตรวจสอบผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือดเช่น โรคโลหิตจาง […]

วิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาชีวเคมี มีความสำคัญอย่างไร

Biochemistry เกิดมาจากการผสมระหว่างสองคำคือ Bio ที่แปลว่าสิ่งมีชีวิต และ Chemistry แปลว่าการศึกษาเกี่ยวกับสารเคมี เมื่อนำสองคำนี้มาต่อกัน จึงมีความหมายว่าการศึกษาสิ่งมีชีวิต ร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยอวัยวะมากมาย และอวัยวะเหล่านี้เกิดจากการเรียงตัวของเซลล์ที่มีชีวิตนับไม่ถ้วน เซลล์เหล่านี้ต้องการอาหารคือ ออกซิเจน แร่ธาตุ วิตามิน คาร์โบไฮเดรต (กลูโคส) ไขมัน และโปรตีนจากอาหารที่เราบริโภค คาร์โบไฮเดรตและไขมันเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีของร่างกาย ส่วนโปรตีนมีความจำเป็นสำหรับการสร้างเซลล์ เนื่องจากโปรตีนเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเซลล์ และเกี่ยวข้องในการสังเคราะห์เซลล์ใหม่ วิตามินและแร่ธาตุทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเผาผลาญโดยเกี่ยวข้องกับโคเอ็นไซม์ เอนไซม์เป็นรูปแบบโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในสลายคาร์โบไฮเดรต หรือไขมันเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์พลังงาน Medicine หรือการแพทย์ เป็นการปฏิบัติการวินิจฉัย เพื่อหาทางรักษาและป้องกันโรค การที่หมอจะรักษาโรคได้จำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรคนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คนป่วย ดังนั้นความรู้ในด้านเคมีและชีวโมเลกุลจึงเป็นแก่นแท้ที่จะเข้าใจวิธีในการรักษาโรค เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่าวิทยาศาสตร์การแพทย์มีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะสาขาชีวเคมี ซึ่งถือเป็นหลักพื้นฐานที่จะเข้าใจการทำงานทั้งหมดของร่างกายมนุษย์ ด้วยการย้อนกลับไปดูส่วนประกอบชีวเคมีในร่างกาย ไม่ต่างอะไรกับนักดาราศาสตร์ที่ต้องการจะเข้าใจว่าโลกเกิดมาได้อย่างไร ด้วยการสำรวจย้อนกลับไปอดีตเพื่อหาจุดเริ่มต้น การประกอบอาชีพของสาขาชีวเคมี คนที่ได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาชีวเคมี มากกว่า 38% ที่เลือกจะเข้าศึกษาต่อในระดับสูง มีงานทำแล้ว 46% มีอัตราว่างงานเพียง 5.7% เท่านั้น ถือเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงและมีความต้องการในตลาดสูง ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบอาชีพในกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และในสายธุรกิจอื่นๆที่มีตำแหน่งมากมาย […]