
Medical microbiology หรือ จุลชีววิทยาทางการแพทย์ เป็นการศึกษาในเรื่องสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กระดับจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆกับร่างกายของมนุษย์ โดยเน้นการศึกษาพัฒนาการ ความก้าวหน้าของโรคติดเชื้อในผู้ป่วยและในประชากรมนุษย์ (ระบาดวิทยา) อีกทั้งยังต้องมีการศึกษาในเรื่องของพยาธิวิทยา และภูมิคุ้มกันวิทยา ถือเป็นสาขาที่มีความสำคัญทางการแพทย์อย่างมาก
ประวัติความเป็นมาในอดีต
เมื่อปี 1546 แพทย์ชาวอิตาลีนามว่า Girolamo Fracastoro ได้เสนอความคิดในเรื่องของโรคระบาด ที่สามารถแพร่ การสัมผัสทางอ้อม และการติดต่อจากระยะไกล จนกระทั่งนายแพทย์ทั้งสอง Louis Pasteur และ Robert Koch ได้ร่วมมือกันตั้งสาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ (Medical microbiology) โดย Louis Pasteur ได้มีชื่อเสียงจากการทดลองของเขา เมื่อได้ทำพิสูจน์ที่หักล้างทฤษฎี “theory of spontaneous generation” ซึ่งได้บอกว่าสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดขึ้นได้จากตัวตนที่ไม่มีชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นคนที่คิดค้นวิธีการพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีในการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง
ส่วน Robert Koch มีผลงานที่โดดเด่นอย่าง Germ theory of disease เป็นทฤษฎีทางชีววิทยา กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือ “เชื้อโรค” นอกจากนี้ยังถูกเรียกว่าจุลินทรีย์ พวกมันส่วนใหญ่ทำให้เกิดโรค แต่ก็ไม่ทั้งหมดที่จะอันตราย ทฤษฎีเชื้อโรคระบุว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทำให้เกิดปฏิกิริยาในร่างกายของผู้ติดเชื้อ เมื่อเกิดปฏิกิริยาของร่างกายต่อการติดเชื้อ เราจะเรียกมันว่า “เชื้อโรค” และยังเป็นผู้ที่ตั้ง สมมติฐานของคอค (Koch’s postulates) เป็นสี่แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์กับเชื้อโรค
หลักสูตรวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์
1.สรีรวิทยาของจุลินทรีย์ (Microbial physiology) เป็นการศึกษาการเติบโตของจุลินทรีย์ เมแทบอลิซึมของจุลินทรีย์ และโครงสร้างของเซลล์จุลินทรีย์
2.พันธุศาสตร์จุลินทรีย์ (Microbial genetics) เป็นการศึกษาการจัดระเบียบ และวิธีควบคุมยีนในจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์
3.ปรสิตวิทยา (Parasitology) ทำการวิจัยและศึกษาปรสิต ตรวจสอบตัวอย่างอุจจาระ เลือด ปัสสาวะ เสมหะ และตัวอย่างอื่นๆ
4.ไวรัสวิทยา (Virology) ตรวจสอบและค้นหาไวรัสในตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ และน้ำไขสันหลัง
5.ภูมิคุ้มกันวิทยา และเซรุ่มวิทยา (Immunology and Serology)
จุลชีววิทยาทางการแพทย์ มักจะต้องมีส่วนร่วมในการสอนทุกระดับ รวมถึงทำการวิจัย เพื่อหาวิธีรพัฒนาวัคซีนต่อต้านเชื้อไวรัส โรคร้ายแรงที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมเช่น โรคฝีดาษ (Smallpox) โปลิโอ (Poliomyelitis) และวัณโรค (Tuberculosis) เพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาให้หมดไป
การศึกษาในปัจจุบันทำให้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพหลายด้าน อย่างเช่นการบริโภค โปรไบโอติก (Probiotics) แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้สุขภาพร่างกายของเราแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยบางส่วนชี้ให้เห็นว่าจุลินทรีย์อาจมีประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการใช้สายพันธุ์ Clostridium botulinum ที่ไม่ทำให้เกิดโรค สามารถแทรกซึมและทำสำเนาภายในเนื้องอกที่เป็นของแข็ง