เรื่องของวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่มีกันมอย่างยาวนานแล้วสำหรับโลกใบนี้ นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายๆ คนได้ทำสิ่งต่างๆ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในด้านของวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยของเราเองเรื่องวิทยาศาสตร์นั้นก็เป็นสิ่งที่ถูกเรียนรู้กันมาจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลายาวนาน แต่หากจะเอ่ยถึงชื่อของบุคคลที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงได้รับการขนานนามให้เป็นจากพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในเรื่องของวิทยาศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคต ทำให้พระองค์ที่ในเวลานั้นมีพระชนพรรษา 47 พรรษา และทรงออกผนวชตั้งแต่พระชนมายุ 27 พรรษา ก็ได้มีข้าราชการกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบพระราชสันติวงศ์ เป็นรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิ่ง มีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาต่างประเทศหลายภาษา อาทิ อังกฤษ, บาลี, ละตินพิเศษ รวมไปถึงมีพระปรีชาสามารถในด้านของดาราศาสตร์ พระองค์ทรงศึกษาเรื่องนี้ด้วยพระองค์เองจากทั้งตำราไทยและตำรามอญ เป็นตำราที่ถูกแปลมาจากตำราฮินดูโบราณ ทรงได้ศึกษาตำราเรื่องดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์จากยุโรป นั่นทำให้พระองค์ทรงที่จะคำนวณเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถึง 2 ปีว่า จะมีการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้จะสามรถเห็นได้อย่างชัดเจนจากประเทศไทยที่บ้านคลองลึก ต,หว้ากอ จ. ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อถึงวันเวลาที่ได้ทรงคาดการณ์เอาไว้ก็ปรากฏว่ามีสุริยุปราคาเกิดขึ้นจริงๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากทางด้านของวงการวิทยาศาสตร์ของเหล่าบรรดาชาติมหาอำนาจในช่วงเวลานั้นเลยทีเดียว นอกจากนี้ในช่วงรัชสมัยจองพระองค์ได้มีเหตุการณ์ที่น่าตกใจของชาวบ้านนั่นคือมีดาวหางดวงใหญ่ถึง 3 ดวง นั่นคือ ดาวหางฟลูเกอร์กูส์, ดาวหางโดนาติ และดาวหางเทบบุท ซึ่งชาวบ้านต่างก็หวาดกลัวสิ่งเหล่านี้จะเป็นลางร้าย แต่พระองค์ก็ได้ทรงออกประกาศบอกกับชาวบ้านเอาไว้ล่วงหน้าพร้อมกับคำอธิบายที่ค่อนข้างมีเหตุผลว่า ดาวหางจัดว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คนก็จะเห็นได้กันทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยอย่างเดียว

จากพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระองค์นั่นทำให้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยอย่างที่กล่าวไป รวมถึงยังมีการลงมติให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์ไทยด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2525 จากคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยและสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย