
1.โครงการฝนหลวง

เมื่อปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงสังเกตเห็นว่า มีปริมาณเมฆมาก แต่ไมสามารถรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน และทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร เกษตรกรและชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากฝนแล้ง จึงเป็นความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และก่อให้เกิดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ แก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงจัดตั้งโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์ พ่อหลวงทรงเริ่มการทำฝนหลวง เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร วิธีการก็คือก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มกัน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา หลังจากนั้น ก็จะใช้เครื่องบินที่บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยบนท้องฟ้า โดยเริ่มดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน เมื่อความร้อนชื้นปะทะเข้ากับความเย็น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงมากจนทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว และกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝนในที่สุด พ่อหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เริ่มมีการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา

2.โครงการแก้มลิง
กักตุนแล้วระบายน้ำตามแรงโน้มถ่วง
หลังจากที่มีโครงการฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้งแล้ว
ก็ยังมีปัญหาน้ำท่วมอีก
ซึ่งน้ำท่วมก็เป็นอีกหนึ่งภัยธรรมชาติที่ประชาชนต้องได้รับความเจ็บปวดอีกเช่นกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9ท่านทรงคิดค้น โครงการแก้มลิง
เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนชาวไทย ซึ่งขั้นตอนแรก คือ ระบายน้ำจากตอนบนให้ไปตามคลองในแนวเหนือใต้สู่คลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่ชายทะเล
หลังจากนั้น เมื่อระดับน้ำในทะเลลดต่ำกว่าในคลองก็ระบายน้ำออกจากคลองทางประตูระบายน้ำด้วยหลักการแรงโน้มถ่วงของโลก
ซึ่งโครงการแก้มลิงนี้เปรียบเหมือนการกินกล้วยของลิงซึ่งจะเก็บกล้วยไว้ที่แก้ม
แล้วจะค่อย ๆ นำมาเคี้ยวและกินภายหลัง

3.กังหันน้ำชัยพัฒนา ปั่นน้ำเสียเติมออกซิเจน
กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นกังหันน้ำแบบทุ่นลอยซึ่งใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีการทำก็คือ ใช้กังหันวิดน้ำไปบนผิวน้ำแล้วปล่อยให้ตกลงผิวน้ำตามเดิม และน้ำจะถูกสาดกระจายสัมผัสอากาศทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำ น้ำเสียจึงมีคุณภาพดีขึ้น สามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียทั้งจากแหล่งชุมชน อุตสาหกรรมและการเกษตรต่างๆได้ เนื่องจากประเทศไทยเมื่อก่อน มีสภาพเน่าเสียของแหล่งน้ำต่าง ๆเพิ่มมากขึ้น และเริ่มมีน้ำเสียรุนแรงขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ท่านจึงทรงมีพระราชดำริว่าจำเป็นต้องบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องกลเติมอากาศ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบฯ ศึกษาและวิจัยร่วมกับกรมชลประทานผลิตเครื่องต้นแบบขึ้นในปี 2532 และในปี 2536 กังหันน้ำชัยพัฒนาก็ได้ทำ กังหันบำบัดน้ำเสีย ขึ้นมา โดยการหมุนปั่นเพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียจากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจนให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร เป็นต้น4.เขื่อนดิน

4.เขื่อนดิน
เป็นอ่างเก็บน้ำที่สร้างโดยการถมดินและบดอัดจนแน่น เช่นอ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำห้วยซับตะเคียน จ.ลพบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำคลองหลา จ.สงขลา รวมทั้งเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ใน จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9ทรงสร้างขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ป้องกันน้ำท่วม และใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่นปลา กุ้ง ได้อีกด้วย
3.กังหันน้ำชัยพัฒนา ปั่นน้ำเสียเติมออกซิเจน